อาหารเพชรุบรีในวรรณกรรมนิราศ
ได้รับการสอบถามจากพี่โฟล์ค ปภังกร จรรยงค์ และพี่น้อยแห่งชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าคลองกระแชงว่า มีวรรณกรรมโบราณเรื่องใดที่กล่าวถึงอาหารเมืองเพชรบ้าง ผู้เขียนนึกไปถึงวรรณกรรมประเภทนิราศเป็นอย่างแรก เพราะวรรณกรรมประเภทนี้เป็นเสมือนบันทึกการเดินทางที่ผู้ประพันธ์ได้บันทึกสิ่งที่พบเห็นจริงระหว่างการเดินทางลงไปในนิราศ วรรณกรรมนิราศที่มีเนื้อหากล่าวถึงการเดินทางมายังเมืองเพชรบุรีจึงอาจกล่าวถึงอาหารของเมืองเพชรไว้บ้าง
แม้ว่าอาหารจะเป็นปัจจัยที่สำคัญของมนุษย์ แต่การจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอาหารกลับเป็นสิ่งที่มีน้อยมากในสังคมไทยโบราณ อาจเป็นเพราะเรื่องของอาหารเป็นเรื่องใกล้ตัวจนไม่ได้ใส่ใจที่จะจดบันทึกอย่างเป็นเรื่องราวทางการเอาไว้ ประวัติศาสตร์ของอาหารการกินจึงค่อนข้างจะมีน้อย ดังนั้น เมื่อจะศึกษาเรื่องอาหารโบราณจึงต้องมาค้นคว้าจากในวรรณกกรรม ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงอย่างจริงจังนัก
เมื่อได้ลองสืบค้นจากนิราศเรื่องต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเมืองเพชรบุรี คือในช่วงที่ผู้ประพันธ์ได้อยู่ในเมืองเพชรและได้บรรยายถึงอาหารที่ได้เห็นในเมืองเพชร ปรากฏว่ามีอยู่ในนิราศเรื่องต่อไปนี้คือ
- นิราศเมืองเพชร สุนทรภู่ แต่งเมื่อ พ.ศ. 2377
- นิราศเกาะจาน พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) แต่งเมื่อ พ.ศ. 2411
- นิราศเขาลูกช้าง นายต่วน แต่งเมื่อ พ.ศ. 2429
- นิราศเขาหลวง ขุนวรการ แต่งเมื่อราวปี พ.ศ. 2447
- นิราศบ้านแหลมนายพิน แต่งเมื่อราวก่อนปี พ.ศ. 2461
- นิราศหาดเจ้าสำราญ นายเฟื่อง ชวาลี แต่งเมื่อ พ.ศ. 2464
โดยภาพรวมของนิราศทั้ง 6 เรื่องกล่าวถึงอาหารที่พบในระหว่างการเดินทาง ซึ่งสามารถจำแนกอาหารออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่1. วัตถุดิบ ประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ที่จะนำมาปรุงเป็นอาหาร ได้แก่ ขาหมู เนื้อ ปลาจาระเม็ดมังสา (เนื้อสัตว์)ปลาทู หมู หอย ปู ปลา เป็ด ไก่ ไข่ มะพร้าว ถั่ว ผัก ฟัก แฟง ฟักทอง น้ำตาลโตนด ดอกแค แตงกวา มะกรูด มะนาว2. กับข้าว ได้แก่ ต้มขาหมูใส่น้ำพริกเผาน้ำส้มผักชี เผาลา (ปลาเผากินกับผัก) เต่ายำน้ำพริกปลา (ไม่ทราบวิธีการปรุงอาจเป็นปลาปิ้งหรือย่าง) มะเขือ (ไม่ทราบวิธีการปรุงอาจเป็นมะเขือสดหรือมะเขือต้) ต้มอิ๋ว (อาจหมายถึงต้มจิ๋วเป็นต้มที่มีรสเปรี้ยวหวาน) ผัดหมี่ แกงหอยขม3. อาหารว่าง ได้แก่ ข้าวแช่4. ขนม ได้แก่ ข้าวเกรียบหวาน ข้าวเม่าเคล้าน้ำตาล ข้าวหมาก เมี่ยง เรียงเล็ด ขนมถ้วยกล้วยทอด ขนมครกกล้วยทอด5. ผลไม้ ได้แก่ ส้ม กล้วย อ้อย กะท้อน แตงไทย แตงโม สับปะรด ลำไย มะไฟ มะเฟือง มะม่วงพรวน มะซาง มะปรางเหลือง ขนุน6. อาหารในพิธีกรรม ได้แก่ เหล้าอาหนี หมู เป็ด ไก่ จันอับ ทับทิม ลำไย (เครื่องบูชาสังเวยเจ้าพ่อหลักเมือง) หากบรรยายขอบเขตการศึกษาเรื่องอาหารให้กว้าง การศึกษาในนิราศก็จะพบอาหารอีกเป็นจำนวนมาก เช่น อาหารที่ปรากฏในวรรณกรรมประกอบพิธีกรรมงานปีผีมด อาหารที่ปรากฏในวรรณกรรมมหาชาติ อาหารที่ปรากฏในวรรณกรรมกลอนสวด เป็นต้นตัวอย่างอาหารเพชรบุรีที่ปรากฏในวรรณกรรมนิราศนิราศเมืองเพชร สุนทรภู่ แต่งเมื่อ พ.ศ. 2377แล้ววันทาลาเลียบลงเหลี่ยมเขา พอบังเงาแดดร่มทั้งลมตกออกนาวามาทางบ้านบางครก มะพร้าวดกดูสล้างสองข้างคลองมีส้มสูกลูกไม้เหมือนในสวน ตลอดล้วนเรียงรายเรียกขายของเขาเลียนล้อต่อถามตามทำนอง ไม่ยิ้มย่องนิดหน่อยอร่อยใจจนเรือออกนอกชวากปากบางครก ต้องเลี้ยววกไปตามลำแม่น้ำไหลเปนถิ่นฐานบ้านนาป่ารำไร เขาทำไร่ถั่วผักปลูกฟักแฟงแต่ฟักทองร้องเรียกว่าน้ำเต้า ฟักเขียวเล่าเรียกว่าขี้พร้าแถลงผู้แต่งกล่าวถึงพืชผัก ผลไม้ ที่พบเห็นระหว่างล่องเรือมาตามแม่น้ำเพชรบุรีโอ้คิดถึงพึ่งบุยท่านขุนแพ่ง ไปหน้าแล้งรับแขกแรกวสันต์ตำข้าวเม่าเคล้าน้ำตาลทั้งหวานมัน ไปด้วยกันคั้นขยำน้ำกะทิผู้แต่งกล่าวย้อนหลังถึงคราวที่เคยได้มารับประทานข้าวเม่าเค้าน้ำตาลใส่กะทิทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาลที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์ มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหารผู้แต่งกล่าวถึงการทำน้ำตาลโตนดของชาวเพชรบุรีพี่ยืนยลบนบ้านสถานถิ่น ชำเลดินบ้านนี้ดีหนักหนาบริบูรณ์พูลเกิดหอยปูปลา จีนไทยพากันมาอยู่ดูสบายนิยมหยาบบาปกรรมจำใจสู้ เลี้ยงล้วนหมูเป็ดไก่เอาไข่ขายชนิดเราเนาไม่ได้ไม่สบาย ถึงไร้ร้ายทรัพย์สินไม่ยินดีผู้แต่งบรรยายถึงการประกอบอาชะประมงและการเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้านปากทะเล ว่ามีผลผลิต ได้แก่ หอย ปู ปลา หมู ไก่ เป็ดฉันยกหัตถ์วันทาพระนาโถ จากศาลาท่าโพหาช้าไม่ถึงตะพานข้ามกะแสแลวิไล แม้นจะไปวัดไม้รวกสะดวกดายมีเรือนร้านบ้านเจ๊กขายเล็กน้อย ทั้งกล้วยอ้อยของหวานตั้งร้านขายผู้แต่งบรรยายถึงผลไม้ที่มีขายระหว่างทางได้แก่ กล้วย อ้อย