กรกต อารมย์ดี ศิลปินผู้เสกสานงานไม้ไผ่ให้ไปไกลระดับโลก

Last updated: 31 ส.ค. 2564  |  9746 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กรกต อารมย์ดี ศิลปินผู้เสกสานงานไม้ไผ่ให้ไปไกลระดับโลก

บ้านแหลม เป็นแหล่งประมงที่สำคัญของเพชรบุรี บ้านเรือนริมทะเลมักระเกะระกะไปด้วยเครื่องมือประมง แผงตากปลาตากหมึกที่เรียงราย เสียงอื้ออึงยามเรือเข้าออกท่า โป๊ะไม้ไผ่ที่เรียงรายอยู่ในทะเล เป็นภาพจำและภาพชินตาวัยเยาว์ของ กรกต อารมณ์ดี เด็กชายริมทะเลบ้านแหลม 

สิ่งที่เด็กชายกรกตชอบเป็นพิเศษในวัยเด็กคือ “ว่าว” ที่ก๋ง ทำให้เล่น ก๋งเป็นนักแข่งว่าวฝีมือเยี่ยมของบ้านแหลม ประกอบกับความรู้เรื่องลักษณะลม ทิศทางลม ทำให้ฝีมือทำว่าวของชาวบ้านแหลมมีความเป็นเลิศ การผูกมัด การมัด 

เครื่องมือประมงและว่าว เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสรรค์งานไม้ไผ่ของ คุณกรกต ในเวลาต่อมา จนเกิดเป็นแบรนด์ ‘KORAKOT’ งานจักสานไม้ไผ่ที่สร้างชื่อไกลระดับโลก ที่แบรนด์ดังอย่าง แอเมส (Hermes) หลุยส์วิตตอง (Louis Vuitton) ใช้ในการตกแต่งร้าน ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทระดับห้าดาว ทั่วทุกมุมโลก ล้วนนำงานฝีมือของ คุณกรกต ไปประดับตกแต่งสถานที่ และ การไปแสดงผลงานในงาน MAISON & OBJET ที่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าดีไซน์ที ใหญ่ระดับโลกงานหนึ่ง 

ในช่วงที่คุณกรกต กำลังศึกษาปริญญาโทที่คณะมัณฑศิลป์ สาขาประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้ คุณกรกตได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้ศิลปะพื้นบ้านมาผสมกับการใช้ศิลปะร่วมสมัย และเริ่มศึกษาการทำแร้วจับปู กับว่าวจุฬา จากก๋งอย่างจริงจัง ซึ่ง ได้ถ่ายทอดเทคนิคการผผูก มัด การดาม การต่อ ไมไ้ผ่ การขึ้นโครงสร้าง และคุณสมบัติของไม้ไผ่เมืองเพชรอย่างทะลุปรุโปร่ง จนกลายมาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์และธุรกิจของเขาในเวลาต่อมา

แรงบันดาลใจจากศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านทำให้ คุณกรกต นำมาใช้สร้างสรรค์งานไม้ไผ่ ของตน อย่างมีเอกลกัษณ์ราวกับเสกขึ้นมา จากฝีมือ และ ความรู้ ที่เข้าใจ เรื่องวัสดุอย่างลึกซึ้ง นั่นเอง

นอกจากนั้นคุณกรกตยังสร้างงานให้กับชุมชน นำลูกหลานชาวประมงบ้านแหลม ผู้ที่ซึมซับวิธีการผูกมัดแห อวน โป๊ะของบรรพบุรุษ การผูก การมัด อยู่ในสายเลือดของชาวประมงทุกคน  เมื่อคนในชุมชนมาทำงานร่วมกันที่นี่ สิ่งที่เขาได้รู้ได้เห็นปู่ยาตายาย ทำมาตั้งแต่เด็กๆ มันอยู่ในตัว ชาวบ้านทำได้เร็วมาก เทคนิคการผูกมันดีมากๆ นอกจากสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีกทางหนึ่ง

คุณกรกต ยังเชื่อมโยงให้เห็นถึงความเป็นมาของฝีมือการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางประมงของคนบ้านแหลมที่เชื่อมโยงกับชุมชนอื่นๆ ในเพชรบุรีว่า
อาชีพประมงของคนบ้านแหลมยังสัมพันธ์กับอาชีพการผลิตเชือกป่านแถบบางขุนไทร ซึ่ง จะถูกนำมาใช้ทำเครื่องมือประมง ไม้ไผ่ในการทำโป๊ะ มาจากอำเภอแก่งกระจาน หนองหญ้าปล้อง ซึ่ง อยู่ริมเทือกเขาตะนาวศรี คนขายไม้ไผ่จะต่อไม้ไผ่เป็นแพล่องไปขายยังปลายแม่น้ำเพชร คือ อำเภอเมือง และบ้านแหลม ขากลับก็ซื้อสินค้าทะเลหาบกลับบ้าน จากมุมมองเรื่องอาชีพพื้นถิ่นของชุมชนเล็กๆ อย่างบ้านแหลมสามารถอธิบายประวัติศาสตร์สังคมของเพชรบุรีได้อย่างน่าสนใจ 

ศิลปะเกิดจากการหาอยู่หากินทั้งนั้น สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากงานไม้ไผ่ ว่าสัมพันธ์กับอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างชัดเจน คือ เขามีปัญหาในการดัดไม้ไผ่ให้โค้งงอไม่ได้ จนได้รับคำแนะนำจากก๋งว่าให้ใช้น ้าตาลโตนดในการดัดไม้ไผ่ เพราะน้ำตาลโตนดมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำ และซึมเข้าไปในข้อไม้ไผ่ได้ดีกว่า
นี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ ที่ทำให้เห็นว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งมหัศจรรย์เมื่อรู้จักนำมาใช้จะสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนได้ หรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” นั้นเอง

สิ่งที่น่าคิดสำหรับเพชรบุรี คือ การจะทำอย่างไรให้ศิลปะ ที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะพื้นเมือง พื้นเมือง มาปฎิสังสรรค์ ก่อเกิดสิ่งที่ช่วยให้ผู้คนสามารถนำไปต่อยอด สร้างสรรค์อาชีพ รายได้และสืบทอดความรู้นี้ต่อไปอย่างยั่งยืน


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้